การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจ

15 Mar, 2016 ใช้เวลาอ่าน 5 นาที

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการศึกษาถึงวิธีที่เศรษฐกิจของประเทศจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินซึ่งสัมพันธ์กับการตีความรายงานทางสถิติและข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บางครั้ง ข่าวและรายงานทางเศรษฐกิจจำนวนมากที่ประกาศออกมาในแต่ละวันจะทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าค่าเงินจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคตและเมื่อใดที่เทรนด์ในปัจจุบันอาจกลับตัว

วันที่และเวลาที่รายงานหรือข้อมูลชี้วัดนั้นๆ จะประกาศออกมาจะได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้าและสามารถดูได้ในปฏิทินเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักวิเคราะห์จะใช้เพื่อพิจารณาข่าวที่อาจมีผลกระทบและข้อมูลที่นักเศรษฐศาสตร์จะประกาศ

ธนาคารกลางและอัตราดอกเบี้ย

เนื่องจากธนาคารกลางมักจะรับผิดชอบต่อการจัดการการเงินของประเทศ นโยบายที่ธนาคารใช้จึงมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น หากต้องการเพิ่มค่า คุณจะสามารถซื้อสกุลเงินและเก็บไว้ในกองทุนสำรองได้ หากต้องการลดค่าเงิน เงินในกองทุนสำรองจะถูกขายกลับไปยังตลาด

เมื่อต้องเพิ่มการใช้จ่ายในการบริโภค ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ หากธนาคารกลางมีวัตถุประสงค์ที่จะชะลออัตราเงินเฟ้อลง จะต้องมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดการใช้จ่าย

นโยบายของธนาคารกลางอาจเรียกได้ว่าเป็นนโยบายที่ "ชอบควบคุมอัตราเงินเฟ้อ" หรือ "ชอบกระตุ้นเศรษฐกิจ" โดยขึ้นอยู่กับว่านโยบายจะให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อหรือการเติบโตมากกว่า นโยบายที่ชอบควบคุมอัตราเงินเฟ้อมักจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ขณะที่ปกติแล้ว นโยบายที่ชอบกระตุ้นเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยกำลังจะลดลง

ธนาคารกลางทั่วโลก

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อจะประเมินว่าราคาสินค้าและบริการกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงใดและมีผลกระทบโดยตรงต่ออุปทานและอุปสงค์ด้านสกุลเงินซึ่งจะมีผลกระทบต่อค่าเงินอย่างไร ข้อมูลชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
    GDP เป็นตัวเลขที่ใช้ในการประเมินสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในช่วงที่รายงาน การที่ GDP เพิ่มขึ้นแสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงมีการใช้ GDP เพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ
    ประกาศเมื่อ: ล่วงหน้า - สี่สัปดาห์หลังสิ้นสุดไตรมาส ข้อมูลจริง -  สามเดือนหลังสิ้นสุดไตรมาส เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
    CPI เป็นตัวชี้วัดสินค้าและบริการที่กำหนดโดยแสดงเป็นดัชนี เมื่อเทียบกับตัวเลขก่อนหน้านี้ CPI จะแสดงว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดและกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างไร
    ประกาศเมื่อ: ประมาณช่วงกลางเดือนของทุกเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
    ดัชนีนี้จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านราคาที่ผู้ผลิตได้รับและทำให้สามารถประเมินได้ว่าราคาของระดับผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบมากเพียงใด
    ประกาศเมื่อ: สัปดาห์ที่สองหรือสามของเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)

การจ้างงาน

ระดับการจ้างงานจะกระทบต่อค่าเงินโดยตรงเนื่องจากจะกระทบต่อการใช้จ่ายในปัจจุบันและในอนาคต เชื่อกันว่าการที่การว่างงานเพิ่มขึ้นแสดงว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างชะลอตัวลง ดังนั้น อุปสงค์ของสกุลเงินจึงลดลงไปด้วย ในทางกลับกัน ตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเป็นสัญญาณถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มักจะบ่งชี้ว่าอุปสงค์ของค่าเงินจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คุณจะดูรายงานการจ้างงานที่สำคัญที่สุดของประเทศต่างๆ ได้ทางด้านล่าง:

  • ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ - การประเมินแนวโน้มในการจ้างงานโดยยกเว้นหน่วยราชการ องค์กรที่แสวงหาผลกำไรและกสิกร
  • การขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ - จำนวนผู้ขอรับประโยชน์จากเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ว่างงานซึ่งจะชี้วัดจำนวนผู้ตกงานรายใหม่
  • การสอบถามแรงงาน - หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราการจ้างงานในปัจจุบันของแคนาดา
  • ดัชนีราคาค่าจ้างแรงงาน - เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงในออสเตรเลีย
  • การเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน - เป็นตัววัดการเปลี่ยนแปลงการขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเทียบช่วงหนึ่งที่รายงานกับอีกช่วงหนึ่ง

ยอดค้าปลีก

ข้อมูลชี้วัดตัวนี้มีความสำคัญเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีผลต่อเศรษฐกิจส่วนใหญ่ โดยจะวัดยอดเงินโดยรวมที่ใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าและบริการต่างๆ ระหว่างช่วงเวลาหนึ่งๆ การเติบโตของยอดค้าปลีกแสดงว่าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายและมีความมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศ

ประกาศเมื่อ: ประมาณช่วงกลางเดือนของทุกเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)

ยอดขายบ้าน

ตลาดบ้านที่กำลังเติบโตเป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รายงานการขายบ้านจะแสดงถึงความต้องการบ้านของผู้บริโภคเป็นตัวเลขรวมโดยจะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอัตราการขายบ้านเป็นหลัก

ประกาศเมื่อ: สัปดาห์ที่สี่ของเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)

รายงานการค้าส่ง

รายงานการค้าส่งอ้างอิงจากการสำรวจผู้ค้าขาย 4,500 รายโดยจะทำขึ้นเป็นรายเดือนและรวมถึงสถิติยอดขายรายเดือน สินค้าคงคลังและอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อการจำหน่าย รายงานจะบ่งชี้ถึงการไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานซึ่งอาจช่วยในการคาดการณ์ถึงรายงาน GDP รายไตรมาส อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อตลาดมากนัก

ประกาศเมื่อ: ในหรือประมาณวันที่ 9 ของเดือน เวลา: 17.00 EET (16.00 EEST)

ดุลการชำระเงิน (BOP)

ดุลการชำระเงินแสดงถึงธุรกรรมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาหนึ่งระหว่างผู้ที่อาศัยในประเทศและผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ธุรกรรมทั้งหมดจะแบ่งเป็นดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งรวมถึงสินค้า บริการและรายได้ และบัญชีทุนซึ่งประกอบด้วยธุรกรรมในตราสารทางการเงิน ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในประเทศและระหว่างประเทศ

ประกาศเมื่อ: ประมาณวันที่ 19 ของเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)

ดุลการค้า

รายงานจะแสดงถึงตัวเลขที่แตกต่างกันระหว่างการส่งออกและการนำเข้าของประเทศ และเป็นส่วนสำคัญของดุลการชำระเงิน การขาดดุลการค้าหมายความว่าประเทศนำเข้ามากกว่าส่งออก ขณะที่การเกินดุลจะตรงกันข้าม การเกินดุลหรือการลดการขาดดุลมักทำให้อุปสงค์ของสกุลเงินลดลง  

ประกาศเมื่อ: ประมาณวันที่ 19 ของเดือน เวลา: 15.30 EET (14.30 EEST)

คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของตลาด Forex ได้ในบทความที่นี่

มาเป็นนักเทรดมืออาชีพกับ Octa

สร้างบัญชีและเริ่มฝึกฝนตอนนี้

Octa