กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid คืออะไร?
ทำไมนักเทรดเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid?
กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid โดยไม่ป้องกันความเสี่ยง
ข้อดีและข้อเสียของการเทรดแบบ Grid
เคล็ดลับความสำเร็จในการเทรดแบบ Grid
การเทรดแบบ Grid เหมาะกับนักเทรดที่มีประสบการณ์ ผู้ต้องการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาตามปกติในตลาดสกุลเงินและ CFD โดยใช้ออเดอร์ Limit และ Stop เรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid และความสำคัญของออเดอร์รอดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคนิคการเทรด Forex ให้อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เริ่มต้นและนักเทรดที่มีประสบการณ์ใช้กลยุทธ์การเทรดต่าง ๆ มากมาย กลยุทธ์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดคือ 'พฤติกรรมราคา' แนวทางอื่น ๆ ที่นิยมใช้จะเป็นการเก็งกำไร การทำกำไรจากการแกว่งตัวของราคา และป้องกันความเสี่ยง
ปัญหาของนักเทรดมือใหม่จะเป็นการค้นหาวิธีเทรดที่เหมาะกับสไตล์ของตน เนื่องจากข้อมูลมากมายเกี่ยวกับกลยุทธ์บนโลกออนไลน์ นักเทรดมักสับสนว่าควรใช้กลยุทธ์ใด บทความนี้จะมุ่งเน้นกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักเทรดที่มีประสบการณ์
ในตลาดการเงิน การเทรดแบบ Grid คือการวางออเดอร์ซื้อ (Long) และขาย (Short) ณ ระดับราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเหนือและใต้ราคาฐาน ซึ่งอยู่ในรูปกริด (ช่องราคา) โดยมีระยะห่างคงที่หรือตามกลยุทธ์ เป้าหมายคือใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาเล็กน้อยโดยการซื้อต่ำและขายสูงซ้ำ ๆ กลยุทธ์นี้ใช้ได้ดีที่สุดในตลาดไม่มีแนวโน้มชัดเจน ซึ่งราคาเคลื่อนไหวภายในกรอบราคา แม้ว่าจะปรับใช้ในตลาดที่มีแนวโน้มได้ ตัวอย่างของตลาดที่เคลื่อนไหวภายในกรอบราคากลยุทธ์การเทรดแบบ Grid คืออะไร?
ขั้นตอนการเทรดแบบ Grid
- ระบุภาวะตลาด (มีแนวโน้มชัดเจนหรือเคลื่อนไหวภายในกรอบราคา) หากตลาดเคลื่อนไหวภายในกรอบราคา ไปยังขั้นตอนที่ 2
- เลือกราคาฐาน เส้นสีเขียวหนาคือราคาฐานของกริด (ช่องราคา)
- ระบุจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด (กรอบราคา) เส้นสีดำแทนจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด
- ส่งออเดอร์ Sell Limit เหนือราคาฐาน (เส้นสีเขียว) และออเดอร์ Buy Limit ใต้ราคาฐาน
- ควรส่งออเดอร์ Limit ที่มีระยะห่างเท่ากัน
ประเภทการเทรดแบบ Grid
แบ่งออก 2 ประเภท
- กริดการเทรดแบบไม่คำนึงภาวะตลาด
หลักการคือส่งออเดอร์ซื้อและขายโดยไม่คำนึงว่าตลาดจะขึ้นหรือลง คุณกำหนดราคาเฉพาะที่ต้องการซื้อและขาย ทันทีที่ราคาแตะระดับราคาที่กำหนด ระบบจะดำเนินการออเดอร์ทันที โดยไม่สนใจว่าตลาดจะเคลื่อนไปในทิศทางใดก็ตาม
- กริดการเทรดแบบคำนึงภาวะตลาด
คุณยังส่งออเดอร์ซื้อและขาย แต่จะใช้ก็ต่อเมื่อตลาดเคลื่อนไหวในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง (เช่น แนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงที่แข็งแกร่ง) ด้วยวิธีนี้ คุณยังคงใช้ประโยชน์จากแนวโน้มเพื่อการเทรดที่ดียิ่งขึ้น
การเทรดแบบ Grid ยังมีแบบอื่น ๆ เช่น
การเทรดแบบ Grid สมมาตร | ระยะห่างของออเดอร์ซื้อและขายจากราคาฐานจะเท่ากัน คุณได้กำไรไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง ในทางกลับกัน หากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางหนึ่งชัดเจน คุณอาจขาดทุนมาก |
การเทรดแบบ Grid อสมมาตร | คุณตั้งระดับออเดอร์ในระยะห่างแตกต่างกันตามพยากรณ์ตลาด หากคุณคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นสูงมาก คุณอาจส่งออเดอร์ซื้อที่มีระยะห่างใกล้กัน และออเดอร์ขายที่มีระยะห่างไกลกว่า ช่วยให้ฐานะการเทรดของคุณสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวในตลาดที่คาดการณ์ไว้ |
การเทรดแบบหลาย Grid | แนวทางนี้จะเป็นการสร้างหลายกริด ณ ระดับราคาต่าง ๆ คุณใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของตลาดในกรอบราคาต่าง ๆ ช่วยให้ปรับตัวกับการผันผวนของราคาและอาจเพิ่มเงินกำไรพึงได้ อย่างไรก็ตาม การจัดการหลายกริดมีความซับซ้อนกว่า ต้องอาศัยการติดตามอย่างใกล้ชิดและมักใช้เงินลงทุนสูงกว่า |
กลยุทธ์นี้ใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในตลาดสกุลเงินและ CFD โดยใช้ออเดอร์ Limit และ Stop ส่งออเดอร์ซื้อและขายแบบรอดำเนินการที่มีระยะห่างสม่ำเสมอเหนือราคาตลาด ต้องเข้าใจออเดอร์รอดำเนินการเพื่อใช้กลยุทธ์อย่างเหมาะสม แพลตฟอร์มเทรด Forex ส่วนใหญ่มีออเดอร์รอดำเนินการเพื่อให้นักเทรดเปิดออเดอร์แม้จะไม่อยู่ ณ ขณะนั้น 2 ประเภทออเดอร์รอดำเนินการที่พบบ่อยที่สุดคือ Limit และ Stop โดยออเดอร์ Buy Limit คือออเดอร์ซื้อหลักทรัพย์ ณ ราคาที่กำหนดหรือต่ำกว่า ส่วน Sell Limit คือออเดอร์ขายหลักทรัพย์ ณ ราคาที่กำหนดหรือสูงกว่า ในทางกลับกัน Buy Stop คือออเดอร์ซื้อหลักทรัพย์ ณ ราคาเหนือกว่าราคาปัจจุบัน ขณะที่ Sell Stop คือออเดอร์ขายหลักทรัพย์ ณ ราคาต่ำกว่าราคาปัจจุบัน คำว่า "หลักทรัพย์" หมายถึง CFD คู่สกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนี สกุลเงินดิจิทัล หรือหุ้น วิธีส่งออเดอร์ Limit ใน Octaทำไมนักเทรดเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid?
ประเภทออเดอร์รอดำเนินการ
ในการวางออเดอร์ Limit (1) ไปยังแท็บออเดอร์ใหม่บนเดสก์ท็อป ส่วนในแอป แท็บดังกล่าวจะอยู่ตรงมุมซ้ายล่าง (2) เลือกออเดอร์รอดำเนินการและ Buy Limit
ทำไมต้องกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid
นักเทรดใช้กลยุทธ์นี้ด้วยเหตุผลหลายประการ
- ประการแรก ไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยพื้นฐานในตลาดที่จะพบในปฏิทินเศรษฐกิจ
- ประการที่สอง วิธีนี้เหมาะกับการเทรดในตลาดไม่มีแนวโน้มชัดเจน ซึ่งนักเทรดสายตามแนวโน้มไม่นิยมเทรดในตลาดลักษณะนี้
ตัวอย่างการเทรดแบบ Grid
เรามาดูตัวอย่างจากกราฟคู่สกุลเงิน EURGBP
ทบทวนขั้นตอนการเทรด
- ระบุภาวะตลาด (มีแนวโน้มชัดเจนหรือเคลื่อนไหวภายในกรอบราคา) EURGBP เคลื่อนไหวภายในกรอบราคา ไปยังขั้นตอนที่ 2
- เลือกราคาฐาน เส้นฐานอยู่ต่ำกว่าราคา (0.83608)
- ระบุจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด (กรอบราคา) เส้นสีน้ำเงินตรงราคา 0.84227 แทนจุดสูงสุด และ 0.83001 แทนจุดต่ำสุด
- ส่งออเดอร์ Sell Limit เหนือราคาฐานและ Buy Limit ใต้ราคาฐาน
- เพื่อปกป้องเงินทุนหากการเทรดไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ตั้ง Stop Loss เหนือระดับ Sell Limit และต่ำกว่า Buy Limit
กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid อีกแบบหนึ่งคือ ไม่ป้องกันความเสี่ยง ในกรณีนี้ นักเทรดใช้ออเดอร์รอดำเนินการตามที่อธิบายข้างต้น แต่ไม่จำเป็นต้องเปิดการเทรดสองฝั่ง ขั้นตอนแรก เลือกทิศทางหลักทรัพย์ คุณสามารถดูกราฟและเห็นทิศทางการเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ หากเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้น กลยุทธ์ของคุณคือการซื้อ จากนั้น ตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดของกริด (ช่องราคา) หากราคาตลาดคู่สกุลเงิน EURUSD อยู่ที่ 1.1200 และขนาดกริดอยู่ที่ 10 Pip คุณสามารถส่งออเดอร์ Buy Limit ที่ 1.1210, 1.1220 และ 1.1230 ในขณะเดียวกัน คุณจะส่งออเดอร์ Sell Limit ในระดับเดียวกัน หากราคาแตะระดับ 1.1210 ระบบจะดำเนินการออเดอร์ Buy Limit และ Sell Limit หากราคาแตะ 1.1250 เงินกำไรจาก Buy Limit จะมากกว่าผลขาดทุนจาก Sell Limit กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid เหมาะกับนักเทรดที่มีประสบการณ์ แต่อาจเข้าใจยากสำหรับนักเทรดมือใหม่ คุณควรใช้เวลาเรียนรู้เพิ่มเติมและฝึกใช้กลยุทธ์นี้ในบัญชีทดลองเทรด ซึ่งช่วยลับทักษะและค้นพบวิธีที่เหมาะสมในการใช้กับการเทรดของคุณกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid โดยไม่ป้องกันความเสี่ยง
ข้อดีบางส่วนของการเทรดแบบ Grid ข้อเสียบางส่วนของการเทรดแบบ Gridข้อดีและข้อเสียของการเทรดแบบ Grid
การเทรดแบบ Grid ใช้ได้ดีเมื่อตลาดเคลื่อนไหวขึ้นลงภายในกรอบที่กำหนด (มากกว่าการเคลื่อนไหวในทิศทางหนึ่งเป็นเวลานาน) บางคู่สกุลเงินเหมาะกับการเทรดแบบ Grid เช่น EURGBP ที่มักเคลื่อนไหวภายในกรอบ ขณะที่คู่เงินเยน (JPY) ก็สามารถใช้ได้ แต่บางครั้งจะมีแนวโน้มในทิศทางหนึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่า เมื่อทำการเทรด คุณต้องมีแผนปกป้องเงินทุนที่ดี ถึงแม้กลยุทธ์การเทรดแบบ Grid ใช้ได้ดี โดยคุณมีโอกาสสร้างเงินกำไรมากกว่า 60% อย่างไรก็ตาม คุณต้องตัดสินใจว่าคุณยินดีเสียเงินแค่ไหนในแต่ละการเทรด และทำให้แน่ใจว่าแม้คุณจะเปิดการเทรดหลายรายการ ยอดเงินขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นไม่ต้องเกินเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดของยอดเงินทั้งหมดของคุณ เช่น หากคุณวางแผนที่จะเสีย $100 ต่อหนึ่งการเทรด และเปิดการเทรดสามไม้ เราขอแนะนำอย่างยิ่งให้จำกัดผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นไม่เกิน $300 เพื่อรักษาเงินของคุณปลอดภัยในขณะพยายามทำกำไรเพิ่มขึ้น คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรดที่ทำกำไรในบทความกลยุทธ์การเทรด ปรับใช้อย่างไรให้เหมาะกับเป้าหมายของคุณใน 10 นาที?การเทรดแบบ Grid ทำกำไรได้ไหม?
เคล็ดลับความสำเร็จในการเทรดแบบ Grid
ข้อสรุป