อุปสงค์และอุปทานใน Forex คืออะไร
ทำไมอุปสงค์และอุปทานจึงจำเป็นต่อการเทรด
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานใน Forex
ข้อดีและข้อเสียของการใช้อุปสงค์และอุปทานในการเทรด
เคล็ดลับการเทรดโดยใช้อุปสงค์และอุปทาน
บทความนี้จะอธิบายว่าอุปสงค์และอุปทานหมายถึงอะไรในการเทรดอย่างชัดเจน เราจะพูดถึงบทบาทและวิธีใช้อุปสงค์และอุปทานเพื่อสร้างรายได้จาก Forex
อุปทาน (Supply) คือปริมาณสกุลเงินที่สามารถเทรดได้ ส่วนอุปสงค์ (Demand) แสดงปริมาณสกุลเงินที่ผู้คนยินดีที่จะซื้อ หากอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาจะวิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ราคาจะลดลง เรามาดูกันว่าสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานใน Forex แสดงในกราฟอย่างไรอุปสงค์และอุปทานใน Forex คืออะไร
ในกราฟนี้ พื้นที่สีฟ้าเป็นโซนอุปสงค์ เมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาจะเริ่มวิ่งขึ้น
ในทำนองเดียวกัน โซนอุปทานเกิดขึ้นตรงจุดสูงสุดในแนวโน้มย่อยหลังจากตลาดเป็นขาขึ้นมาสักพัก ทำให้ราคาเริ่มลดลง กราฟด้านล่างแสดงโซนอุปทาน
ทำไมอุปสงค์และอุปทานจึงจำเป็นต่อการเทรด
กลยุทธ์อุปสงค์และอุปทาน (เรียกอีกอย่างว่า S&D) ใช้ประโยชน์จากหัวใจสำคัญของการเทรด Forex: แรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทานกำหนดราคาของสกุลเงินหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง ดังนั้น การพิจารณาปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้การเทรดของคุณดีขึ้นอย่างมาก หากคุณใช้ความระมัดระวังในการระบุอุปสงค์และอุปทานมากพอ คุณมีโอกาสอย่างมากที่จะพยากรณ์ว่าตลาดจะตอบสนองอย่างไรในอนาคต
เหตุผลที่อุปสงค์และอุปทานจำเป็นต่อการวิเคราะห์ตลาด
- แสดงแนวโน้มตลาด เมื่อคุณดูจำนวนคนที่ต้องการซื้อหรือขายสกุลเงิน คุณจะสังเกตเห็นรูปแบบในตลาด ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งกำลังดี คุณสามารถคาดว่าจะมีคนซื้อสกุลเงินของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงราคาของสกุลเงินนั้นอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ช่วยให้คุณเทรดอย่างชาญฉลาด นักเทรดใช้ S&D เพื่อทราบว่าควรซื้อหรือขายสกุลเงินต่าง ๆ เมื่อใด ถ้าพวกเขาสังเกตเห็นว่าสกุลเงินได้รับความนิยม (มีคนต้องการมากขึ้น) พวกเขาอาจซื้อเนื่องจากคิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในภายหลัง แต่ถ้าหากสกุลเงินมีปริมาณมากเกินไปและจำนวนผู้ซื้อไม่เพียงพอ พวกเขาอาจขายเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน
- สะท้อนความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ อุปสงค์และอุปทานสามารถแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน หากมีคนจำนวนมากต้องการซื้อสกุลเงินของประเทศหนึ่ง มักหมายถึงเศรษฐกิจของประเทศนั้นกำลังไปได้ดี
ตัวอย่างอุปสงค์และอุปทาน
เรามาพิจารณาคู่สกุลเงินเทรดพื้นฐานที่สุด (EURUSD) ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดี ความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นเกินกว่าอุปทานและทำให้ราคาดอลลาร์สูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ที่ตลาดไม่พึงประสงค์หรือจู่ ๆ ยูโรก็ปรับเพิ่มขึ้น ความต้องการยูโรจะเพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่ายูโรสูงขึ้นและลดราคาเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
อีกหนึ่งตัวอย่างที่มีสถานการณ์ต่างไปเล็กน้อย หาก USDGBP ซื้อขายที่ 0.781 และผู้เข้าร่วมตลาดจำนวนมากตัดสินใจขายดอลลาร์เพื่อซื้อปอนด์ ราคาดอลลาร์มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลง (เกิดเป็นโซนอุปทาน) หากราคาลดลงไปที่ 0.693 และทุกคนตัดสินใจซื้อ (เช่น เพราะข่าวเศรษฐกิจมหภาค) ดอลลาร์มีแนวโน้มอย่างมากที่จะวิ่งขึ้น (เกิดเป็นโซนอุปสงค์)
ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในการเทรด เมื่อเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งกำลังไปไปดี (เติบโต) จะดึงดูดเงินจากประเทศอื่น ซึ่งหมายถึงมีคนต้องการซื้อสกุลเงินของประเทศนั้นมากขึ้น ทำให้สกุลเงินนั้นมีมูลค่ามากขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็ส่งผลต่อสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน หากราคาสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเร็วเกินไป (เงินเฟ้อสูง) สกุลเงินจะเสื่อมค่า มีคนต้องการน้อยลง แต่หากเงินเฟ้อต่ำ สกุลเงินจะดูน่าสนใจมากขึ้นในสายตานักลงทุน คุณควรพิจารณาข้อมูลการจ้างงานด้วย เมื่อคนจำนวนมากมีงานทำและเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีคนต้องการลงทุนในประเทศนั้นมากขึ้น ทำให้ความต้องการสกุลเงินนั้นมากขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศหนึ่งอาจช่วยดึงดูดเงินจากต่างประเทศ เพราะนักลงทุนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่า ทำให้ความต้องการของสกุลเงินนั้นเพิ่มขึ้น หากอัตราดอกเบี้ยลดลง คนต้องการสกุลเงินนั้นมีจำนวนน้อยลง ธนาคารกลางมีอิทธิพลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งเปลี่ยนสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน การลดอัตราดอกเบี้ยหรือการพิมพ์เงินมากขึ้นอาจทำให้สกุลเงินน่าสนใจน้อยลง ทำให้ความต้องการลดลงและราคาที่ต่ำลงในตลาด เสถียรภาพทางการเมืองอาจกระทบต่ออัตราอุปสงค์และอุปทาน ประเทศที่มีรัฐบาลมั่นคงถูกมองว่าเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งหมายถึงมีคนยินดีที่จะซื้อสกุลเงินประเทศนั้นมากขึ้น สงคราม การเลือกตั้งและข้อพิพาททางการค้าสามารถเปลี่ยนจำนวนผู้ที่ต้องการสกุลเงินได้ เช่น เมื่อเกิดความไม่แน่นอนเนื่องจากสงคราม ผู้คนมักหลีกเลี่ยงที่จะซื้อสกุลเงินของประเทศที่เกี่ยวข้อง บางครั้ง นักเทรดรู้สึกกล้าหาญและต้องการรับความเสี่ยงโดยการลงทุนในสกุลเงินที่อาจมีความผันผวน (เคลื่อนไหวขึ้นลงมาก) แต่บางครั้ง พวกเขาชอบตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งกระทบอุปสงค์ของสกุลเงินต่าง ๆ นักเทรดยังซื้อและขายสกุลเงินต่าง ๆ ตามข่าวหรือแนวโน้ม ซึ่งสามารถเปลี่ยนอุปสงค์และอุปทานได้อย่างรวดเร็ว เช่น หากมีข่าวใหญ่ ผู้เข้าร่วมตลาดบางคนอาจรีบซื้อหรือขายสกุลเงินปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานใน Forex
ข้อดี ข้อเสียข้อดีและข้อเสียของการใช้อุปสงค์และอุปทานในการเทรด
การระบุโซนอุปสงค์และอุปทานในกราฟ Forex ก็เหมือนกับการหาจุดที่คนซื้อหรือขายอะไรบางอย่าง นี่คือวิธีทำความเข้าใจ โซนอุปสงค์และอุปทานคืออะไร โซนอุปสงค์ คือจุดราคาที่คนจำนวนมากต้องการซื้อสกุลเงินใดโดยเฉพาะ เมื่อราคาลดลงมาถึงจุดนี้ ผู้ซื้อจะเข้าตลาดและราคามักจะขึ้น โซนอุปทาน คือจุดราคาที่คนจำนวนมากมักขายสกุลเงิน เมื่อราคาเพิ่มขึ้นมาถึงจุดนี้ ผู้ขายจะเข้าตลาดและราคามักจะลงวิธีสังเกตโซนอุปสงค์และอุปทาน
จากกราฟด้านบน โซนหมายเลข 1 แสดงโซนอุปทาน ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้ขายเข้าตลาดและทำให้สกุลเงินอ่อนค่าลง ในทำนองเดียงกัน โซนหมายเลข 2 คือโซนอุปสงค์ ซึ่งมีผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย (อุปสงค์มากกว่าอุปทาน)
คุณจะหาโซนอุปสงค์และอุปทานอย่างไร
- ดูกราฟ ใช้กราฟราคา (แนะนำกราฟแท่งเทียน) เพื่อดูว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป
- หาจุดกลับทิศทาง มองหาจุดที่ราคามีการกลับทิศทางอย่างฉับพลัน หากราคาลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากแตะระดับหนึ่ง นั่นอาจเป็นโซนอุปทาน
- หาพื้นที่พักฐาน หากราคาอยู่ในระดับเดิมมาสักพักแล้วจู่ ๆ ก็เพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนบนสุดของช่วงการเคลื่อนไหวอาจเป็นโซนอุปทาน และส่วนล่างสุดอาจเป็นโซนอุปสงค์
จากกราฟด้านบน พื้นที่สีฟ้าคือการพักฐานของราคา ดังที่เราเห็น ราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส่วนล่างสุดคือโซนอุปสงค์ ในทำนองเดียวกัน หากราคาลดลงจากโซนนี้ ส่วนบนสุดจะเป็นโซนอุปทาน
ค้นหาระดับแนวรับและแนวต้าน
ในกราฟด้านล่าง ระดับแนวต้านตรงหมายเลข 1 คือระดับที่ราคาหยุดวิ่งขึ้นและเริ่มลดลง (โซนอุปทาน)
ระดับแนวรับตรงหมายเลข 2 คือระดับที่ราคามักหยุดลดลงและเริ่มเพิ่มขึ้น (โซนอุปสงค์)
มองปริมาณการเทรด
หากมีคนซื้อที่ราคาหนึ่งมาก แสดงถึงความต้องการที่แข็งแกร่ง ปริมาณการเทรดสูง ณ ราคาใดโดยเฉพาะสามารถช่วยระบุโซนเหล่านี้ได้
การฝึกฝน
ใช้บัญชีทดลองเทรดหรือโปรแกรมจำลองการเทรดเพื่อพัฒนาการสังเกตโซนเหล่านี้ให้แม่นยำยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสี่ยงเงินจริง
คุณสามารถทำตามแผนต่อไปนี้ ตรวจสอบข่าวสารและเหตุการณ์ที่กระทบสกุลเงิน เช่น ถ้าเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งไปได้ดี จะมีคนต้องการสกุลเงินนั้นมากขึ้น (อุปสงค์สูง) ติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การจ้างงานหรืออัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจกระทบอุปสงค์และอุปทาน ระบุระดับแนวรับ ซึ่งเป็นระดับที่ราคาหยุดลดลงเพราะผู้ซื้อเข้าตลาด และระดับแนวต้าน ซึ่งเป็นระดับที่ราคาหยุดเพิ่มขึ้นเพราะผู้ขายเข้าตลาด หากราคาสกุลเงินแตะระดับแนวรับ อาจเป็นเวลาที่ควรซื้อ หากราคาแตะระดับแนวต้าน อาจเป็นเวลาที่ควรขาย ในการใช้กราฟและอินดิเคเตอร์ เรียนรู้วิธีอ่านกราฟ Forex ซึ่งแสดงให้คุณเห็นการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเวลาผ่านไป อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ RSI (ดัชนีกำลังสัมพัทธ์) สามารถใช้เพื่อช่วยคาดการณ์ว่าราคาจะเคลื่อนไหวอย่างไรตามอุปสงค์และอุปทาน ลงทุนด้วยเงินที่คุณสามารถสูญเสียได้เท่านั้น ตั้งออเดอร์ Stop Loss เพื่อจำกัดผลขาดทุน หากการเทรดไม่เป็นไปตามแผน เริ่มต้นด้วยบัญชีทดลองเทรดเพื่อฝึกฝนการเทรดโดยไม่ต้องเสี่ยงเงินจริง ติดตามข่าวทั่วโลก อย่าลืมว่าการเลือกตั้ง ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงในนโยบายของรัฐบาลอาจกระทบอุปสงค์และอุปทานของสกุลเงินต่าง ๆ ติดตามเว็บบอร์ด Forex และบัญชีโซเชียลมีเดียที่พูดเกี่ยวกับแนวโน้มสกุลเงิน ดูกรณีต่อไปนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเฟื่องฟู (อุปสงค์ USD สูง) มีคนต้องการซื้อ USD เพื่อลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้น เมื่ออุปสงค์ USD เพิ่มขึ้นและอุปทานเท่าเดิม มูลค่า USD เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ EUR คุณตัดสินใจซื้อ USD เมื่อคุณเห็นว่าแนวโน้มเริ่มต้น เมื่อมูลค่า USD เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา คุณขายกลับเป็น EUR ในราคาสูงขึ้นวิธีใช้แนวคิดอุปสงค์และอุปทาน
การเทรดโดยใช้อุปสงค์และอุปทานคือกลยุทธ์ที่ใช้ในตลาดการเงินเพื่อทำการตัดสินใจตามหลักอุปสงค์และอุปทาน เราขอมอบเคล็ดลับบางส่วนที่จะช่วยให้คุณเทรดอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักเหล่านี้เคล็ดลับการเทรดโดยใช้อุปสงค์และอุปทาน
ในกราฟนี้ เราจะเห็นว่าโซนอุปสงค์ได้รับการยืนยันโดยการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย 5 และ 13 วัน อย่างไรก็ตาม นักเทรดสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยอื่น ๆ ที่คิดว่าเหมาะสมได้
- บันทึกการเทรด: บันทึกการเทรดของคุณ รวมถึงการวิเคราะห์ระดับอุปสงค์และอุปทาน จุดเข้าและจุดออกจากการเทรดและผลลัพธ์ อ่านทบทวนเป็นประจำเพื่อเรียนรู้จากการเทรดในอดีตและปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณ
- อดทนและมีวินัย รอการยืนยันแทนที่จะรีบเข้าเทรด รอให้ราคายืนยันว่าระดับอุปสงค์หรืออุปทานใช้ได้จริง นอกจากนี้ ทำตามแผนการเทรดและหลีกเลี่ยงการตัดสินใจหุนหันพลันแล่นตามอารมณ์
ข้อสรุป